วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

เตือนภัย : เชื้อโรคจากโทรศัพท์สาธารณะ

'เชื้อโรคในที่สาธารณะ' ถือเป็นหนึ่งอันตรายใกล้ตัวที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป ไม่ว่าจะด้วยความเคยชินหรือเหตุผลอะไรก็ตาม แต่ก็มีหลายคนที่มีอาการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัด , ตาแดง โดยที่ไม่รู้ตัวเลยว่าการได้รับเชื้อโรคเหล่านี้ก็เกิดมาจากการใช้ของสาธารณะนั้นเอง
ยกตัวอย่างที่เห็นกันอย่างชัดเจนคือ การใช้โทรศัพท์สาธารณะ …
การใช้บริการโทรศัพท์สาธารณะนั้นมีโอกาสเสี่ยงติดได้รับเชื้อโรคหลายอย่าง ซึ่งเราสามารถติดติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรง เช่น
เตือนภัย : เชื้อโรคจากโทรศัพท์สาธารณะ

• เชื้อไข้หวัดทั้งหลาย เป็นเชื้อไวรัส ซึ่งถ้ามีน้ำมูกแล้วน้ำมูกไปติดอยู่ที่ตัวเครื่องรับโทรศัพท์หรือบริเวณรอบ ๆ ตู้โทรศัพท์ หากเชื้อเหล่านี้ยังมีชีวิตรอดอยู่หลายชั่วโมง และผู้ใช้โทรศัพท์เหล่านั้นไปสัมผัสจับต้องสารคัดหลั่งดังกล่าว แล้วนำมาป้ายถูกจมูกก็มีโอกาสติดเชื้อได้
• วัณโรค ซึ่งตามทฤษฏีแล้วจะไม่ติดจากการสัมผัสในการใช้โทรศัพท์ จะเกิดการติดเชื้อได้จากการไอ จาม ซึ่งจะได้รับเชื้อโดยการสูดหายใจเข้าไปโดยตรง
• เชื้อเริม ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรง ซึ่งถ้าผู้ป่วยเริมมีแผลอยู่แล้วไปใช้โทรศัพท์ เมื่อคนที่มาใช้โทรศัพท์คนต่อไปไปจับต้องเชื้อไวรัส แล้วใช้มือขยี้ตาหรือป้ายถูกปาก ถูกน้ำลาย ก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อเหล่านั้นได้

• หูด เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรง เพราะฉะนั้นผู้ใช้บริการโทรศัพท์สาธารณะก็จะมีโอกาสติดเชื้อนี้ได้
• โรคแอนแทร็กซ์ เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ง่าย ซึ่งเคยมีข่าวว่าคนอเมริกันได้รับจดหมายแล้วสัมผัสเอาสปอร์ของเชื้อโรคแล้วเป็นโรคนั้นได้ ถ้าได้ไปสัมผัสโดยตรงหรือสูดหายใจเอาสปอร์ที่อยู่บริเวณนั้นเข้าไปก็มีอาการเป็นโรคได้ง่าย
เตือนภัย : เชื้อโรคจากโทรศัพท์สาธารณะ
สำหรับโอกาสในการรับเชื้อโรคดังกล่าวนั้น อย่างไรก็ตามโอกาสในการติดเชื้อจากการใช้บริการของโทรศัพท์สาธารณะนั้นไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อว่ามีปริมาณมากหรือน้อย และเชื้อดังกล่าวที่อยู่ในบริเวณนั้นตายไปหรือยัง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรายงานที่แน่นนอนว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อจากการใช้โทรศัพท์สาธารณะจำนวนเท่าใด ส่วนใหญ่ถ้าเป็นไข้หวัดก็จะติดจากบุคคลอื่นที่เป็นหวัดอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะติดจากเพื่อน จากบุคคลใกล้ตัวหรือโรงภาพยนตร์ที่มีผู้คนแออัด
เตือนภัย : เชื้อโรคจากโทรศัพท์สาธารณะ
ส่วนวิธีป้องกันก็สามารถทำได้โดย

- ระหว่างการใช้โทรศัพท์อย่าใช้มือป้ายตา ป้ายปาก ป้ายจมูก
- ระวัง ไม่นำกระบอกโทรศัพท์มาแนบปากจนเกินไป
- ให้รีบล้างมือทันทีหลังจากใช้โทรศัพท์แล้ว เพราะเชื้อเมื่อออกมาจากตัวผู้ป่วยแล้วยังอยู่ได้หลายเชื้อโมงหรือเป็นวัน

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

เผย...เคล็ดลับ !!! ความจำดี-อ่านและรู้แล้ว ให้ "รีบนอนให้หลับ" อาการนี้ดูยากมากๆ

เคล็ดให้ความจำระยะยาวฝังหัว พอรู้แล้วให้งีบ หลับกลางวันเสีย มีข้อแนะนำกับผู้ที่อ่านข่าวเรื่องนี้ว่า หากอยากจะจดจำให้ได้แม่น พออ่านจบแล้วให้ไปรีบนอนงีบให้หลับเสีย
นักวิจัยสมองของมหาวิทยาลัยไฮฟาของอิสราเอล ได้สำรวจพบวี่แววว่า การนอนช่วยเก็บงำความจำระยะยาวที่บางครั้งบางคราวมักจะผ่านไปเร็วให้ โดยเฉพาะหากได้ นอนกลางวันได้นาน 90 นาที จะได้ผลดีที่สุด
นายอาวี คาร์นี นักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่า “เราก็ยังไม่รู้กลไกของขบวนการความจำที่เป็นไปตอนนอนหลับชัดเจนเหมือนกัน แต่ผลการวิจัยส่อว่า มันอาจจะเป็นไปได้ว่าช่วยเร่งฝังหัวไว้ให้เร็วขึ้น”
ความจำระยะยาว หมายถึงความจำที่คงอยู่กับเราได้แรมปี อย่างเช่น การได้รับอุบัติเหตุทางรถ หรือความจำในวิธีการต่างๆ เช่น การฝึกตีกลอง
เขารายงานผลการศึกษาวิจัยในวารสาร “ประสาทวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ” ของสหรัฐฯว่า ได้ทำการศึกษาโดยการบอกให้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จดจำวิธีการบางอย่าง หลังจากนั้นให้กลุ่มที่หนึ่งงีบตอนบ่ายไปนาน 1 ชม. พบว่ากลุ่มที่ได้งีบ แสดงให้เห็นว่าทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ทั้งยังพบด้วยว่า การหลับชั่ว 90 นาที ช่วยให้สมองเก็บงำความจำระยะยาวได้เร็วขึ้นมาก
ดร.คาร์นีกล่าวชี้ว่า “การนอนงีบกลางวัน จะช่วยย่นระยะเวลาของการเก็บงำความจำ แทนที่ต้องใช้เวลาตั้ง 6-8 ชม. สมองสามารถบีบอัดความจำ ชั่วในเวลาหลับแค่ 90 นาที เอาไว้ได้”.