บางคนคงต้องเกิดอาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า หรืออาการทางสายตาอื่นๆ กันบ้าง ปัจจุบันอาการทางสายตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์มีเพิ่มขึ้น จากสถิติพบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากกว่า 50% มีอาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า และปวดศีรษะ รวมทั้งมีอาการอื่นๆ เช่น ปวดเหมื่อยคอและหลัง ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน และยังมีตัวแปรอีกหลายประการที่ทำร้ายสายตาของเรา เช่น ชนิดของจอคอมพิวเตอร์ แสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ความสว่างของห้อง ท่านั่ง ฯลฯ
เคล็ดลับเพื่อถนอมดวงตาเวลาใช้คอมพิวเตอร์
1. กะพริบตาให้ถี่ขึ้น อาการตาแห้ง เกิดจากการที่เรากะพริบตาน้อยลง เนื่องจากมีสมาธิขณะทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกะพริบตาจะลดลงจาก 20 - 22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6 - 8 ครั้งต่อนาที ถ้าไม่อยากตาแห้ง ควรจะกะพริบตาให้ถี่ขึ้น หรืออาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
2. จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ให้บริเวณหน้าต่างอยู่ทางด้านข้างของจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ ควรจัดให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50 - 70 ซ.ม. จัดระดับจอภาพจากจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 4 - 9 นิ้ว ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป
3. ปรับความสว่างของห้อง ควรปิดไฟบางดวงที่ทำการรบกวนการทำงาน เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสว่างที่มากเกินไป ถ้ามีแสงจ้าจากหน้าต่าง ควรใช้มูลี่เพื่อปรับแสงให้ผ่านได้เพียงบางส่วน และไม่เข้าตาโดยตรง หลีกเลี่ยงการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีผิวสะท้อน เช่น โต๊ะสีขาว ควรใช้วัสดุที่มีผิวด้าน ที่สะท้อนแสงไม่มากจะดีกว่า
4. เลือกใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ เวลาพิมพ์งาน ควรเลือกใช้ขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่พอ และปรับความเข้มของตัวอักษรให้มากขึ้น ซึ่งขนาดตัวอักษรและความเข้มที่เหมาะสมจะสังเกตได้จากการที่เราอ่านตัวอักษรได้ในระยะห่างเป็น 3 เท่าของระยะที่นั่งทำงาน หรือเลือกใช้จอคอมพวิเตอร์ชนิด LCD (จอแบน) ซึ่งจะช่วยถนอนสายตาได้ดีกว่าจอแบบเก่า (CRT)
5. เลือกใช้แว่นที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์ ควรเลือกใช้เลนส์สีเขียวอ่อน ที่ช่วยให้สบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ และเพื่อลดแสงสะท้อนจากจอภาพ โดยเลือกแว่นตาที่มีกำลังขยายสำหรับระยะ 50 - 70 ซ.ม. (ระยะกลาง) ซึ่งค่ากำลังของเลนส์ดังกล่าวจะแตกต่างจากเลนส์อ่านหนังสือ หรือเลนส์มองใกล้ทั่วไป
6. พักสายตา ทุกๆ ชั่วโมง ควรเปลี่ยนอิริยาบถ หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อพักสายตาและป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552
วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552
ต้นกำเนิดวันครูของประเทศไทย
วันครูที่ประเทศไทยจัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 ซึ่งในปี พ.ศ. 2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปีว่า
"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า... เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิด ว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไป ถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ต่างเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ
สำหรับวันครูโลก ทางยูเนสโกได้กำหนดให้วันที่ ๕ ตุลาคมของทุกปีเป็นวันครูโลก ประเทศไทยได้เริ่มจัดครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๘ สำหรับต่างประเทศ แต่ละที่ก็มีการกำหนดวันครูเช่นเดียวกันนะคะ มีทั้งกำหนดว่าเป็นวันหยุด และไม่เป็นวันหยุด มีที่ไหน อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย...
ประเทศที่มีวันครูที่ไม่ใช่วันหยุด
อินเดีย
วันที่ 5 กันยายน
มาเลเซีย
วันที่ 16 พฤษภาคม
ตุรกี
วันที่ 24 พฤศจิกายน
ประเทศที่มีวันครูเป็นวันหยุด
"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า... เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิด ว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไป ถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ต่างเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ
สำหรับวันครูโลก ทางยูเนสโกได้กำหนดให้วันที่ ๕ ตุลาคมของทุกปีเป็นวันครูโลก ประเทศไทยได้เริ่มจัดครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๘ สำหรับต่างประเทศ แต่ละที่ก็มีการกำหนดวันครูเช่นเดียวกันนะคะ มีทั้งกำหนดว่าเป็นวันหยุด และไม่เป็นวันหยุด มีที่ไหน อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย...
ประเทศที่มีวันครูที่ไม่ใช่วันหยุด
อินเดีย
วันที่ 5 กันยายน
มาเลเซีย
วันที่ 16 พฤษภาคม
ตุรกี
วันที่ 24 พฤศจิกายน
ประเทศที่มีวันครูเป็นวันหยุด
แอลเบเนีย
วันที่ 7 มีนาคม
จีน
วันที่ 10 กันยายน
สาธารณรัฐเช็ก
วันที่ 28 มีนาคม
อิหร่าน
วันที่ 2 พฤษภาคม
ละตินอเมริกา
วันที่ 11 กันยายน
โปแลนด์
วันที่ 14 ตุลาคม
รัสเซีย
วันที่ 5 ตุลาคม
สิงคโปร์
วันที่ 1 กันยายน
สโลวีเนีย
วันที่ 28 มีนาคม
เกาหลีใต้
วันที่ 15 พฤษภาคม
ไต้หวัน
วันที่ 28 กันยายน
สหรัฐอเมริกา
วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
วันที่ 7 มีนาคม
จีน
วันที่ 10 กันยายน
สาธารณรัฐเช็ก
วันที่ 28 มีนาคม
อิหร่าน
วันที่ 2 พฤษภาคม
ละตินอเมริกา
วันที่ 11 กันยายน
โปแลนด์
วันที่ 14 ตุลาคม
รัสเซีย
วันที่ 5 ตุลาคม
สิงคโปร์
วันที่ 1 กันยายน
สโลวีเนีย
วันที่ 28 มีนาคม
เกาหลีใต้
วันที่ 15 พฤษภาคม
ไต้หวัน
วันที่ 28 กันยายน
สหรัฐอเมริกา
วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
เวียดนาม
วันที่ 20 พฤศจิกายน
วันที่ 20 พฤศจิกายน
...อย่าลืมแสดงความเคารพคุณครูกันเยอะๆนะคะ...
วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)